About admin.pova2552

This author has not yet filled in any details.
So far admin.pova2552 has created 3 blog entries.

ไม้ MDF คืออะไร?

By |2018-11-28T03:48:30+00:00December 7th, 2015|News|

ไม้ MDF (Medium Density FiberBoard)  ไม้ MDF (Medium-Density Fiberboard) หรือเรียกภาษาไทยว่า แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง คือการเอาเศษขี้เลื่อยของไม้ยางพารามาบดอัดผ่านกระบวนการอัดไม้ ด้วยเครื่องบดอัดไม้เฉพาะที่มีแรงอัดสูง พร้อมกับความร้อนด้วยเครื่องจักรเฉพาะทาง ด้วยกระบวนการผลิตที่มีความละเอียด ทำให้เนื้อไม้มีความแน่น ละเอียด ผิวเนียนมากกว่าไม้ปาร์ติเกิ้ล คุณสมบัติของ ไม้ MDF (Medium Density FiberBoard) มีผิวเนื้อในละเอียดเป็นเนื้อเดียวกันตลอดทั่วทั้งแผ่น มีความหนา ความแน่น และความเรียบสม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่น สามารถขูดแต่งเนื้อไม้ได้เรียบเนียบ งานที่ออกมาจึงดูเรียบร้อยไม่เป็นขุย สามารถนำมาพ่นสีในเนื้อไม้ได้สวยงาม ลักษณะคุณสมบัติ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ 1. ชนิดความหนาแน่นสูง โดยมากนิยมใช้ทำพื้นอาคาร, บ้านเรือน, นำไปปิดผิว พ่นสี ให้ดูดียิ่งขึ้น 2. ชนิดความหนาแน่นปานกลาง นิยมใช้ในอุตสาหกรรมตกแต่ง และเฟอร์นิเจอร์ รวมทั้งงานแกะสลักได้เกือบทุกชนิด 3. ชนิดความหนาแน่นต่ำ ปัจจุบันเริ่มมีใช้แพร่หลายทางยุโรป และอเมริกา นิยมใช้สำหรับทำเฟอร์นิเจอร์ Knock-down สนใจเยี่ยมชมสินค้าไม้ต่างๆได้ที่นี่

ไม้อัด คืออะไร

By |2018-11-28T03:28:41+00:00December 7th, 2015|News|

ไม้อัด เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเอาไม้แผ่นบางหรือวีเนียร์ (Veneer) โดยการตัดท่อนซุงให้มีความยาวตามที่่ต้องการ แล้วกลึงปอกท่อนซุงหรือผ่า ให้ได้แผ่นไม้เป็นแผ่นบางๆ หลายแผ่นมาอัดเข้าด้วยกัน โดยใช้กาวเป็นวัสดุยึดตรึง แผ่นไม้ที่นำมาอัดเข้าด้วยกันจะต้องวางในลักษณะที่แนวเสี้ยนขวางตั้งฉากซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในด้านความแข็งแรง ทั้งยังช่วยลดการขยายและหดตัวในแนวระนาบของแผ่นไม้ให้เหลือน้อยที่สุด จากนั้นนำไปผ่านการอัดด้วยความร้อน (Hot Press) เพื่อทำให้ไม้อัดเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งจากกระบวนการนี้จะทำให้แผ่นไม้อัดมีความหนาแน่นสูง กระบวนการผลิตไม้อัดที่ผ่านการอัดด้วยความร้อนและแรงดันนั้น นอกจากจะทำให้ความหนาแน่นของเนื้อไม้สูงกว่าไม้จริง (Solid) เป็นอย่างมากแล้ว ลวดลายบนผิวหน้าที่เป็นแผ่นใหญ่และต่อเนื่องของ Veneer ยังให้ความสวยงามอีกด้วย กระบวนการผลิตไม้อัด เริ่มจากกระบวนการนำซุง เปิดปีกไม้ โดยเครื่องเลื่อยสายพาน คือการตัดเปลือกนอกออก ให้เหลือเนื้อไม้ตามหน้าตัดซุง เป็นสี่เหลี่ยม ส่งซุงเข้าต้ม เพื่อให้ไม้นิ่ม และดำเนินการสไลด์ตามแนวยาวตามขนาดท่อนซุง ออกมาเป็นแผ่นเยื่อไม้บางๆ (ซึ่งเรียกได้อีกอย่างว่าวีเนียร์) ความหนาอยู่ที่ประมาณ 0.8 -1.2 มม.  นำวีเนียร์ที่ได้ ผ่านเครื่องตัด เพื่อตัดริมขอบวีเนียร์ ให้เป็นเส้นตรง และตัดความยาวที่เกินมากไปออก  (ขั้นตอนนี้ โดยส่วนมาก จะใช้เฉพาะเกรด B ขึ้นไป ถ้าเป็นเกรดต่ำๆ หน่อย จะอาศัยวางเรียงกันโดยไม่ทำตามขั้นตอนนี้) นำวีเนียร์ ที่ตัดริม มาเย็บให้ติดกัน

ชนิดของไม้อัด

By |2018-11-28T03:51:10+00:00December 6th, 2015|News|

ชนิดของไม้อัดนั้นมีหลากหลาย แต่ละชนิดนั้นมีลักษณะและการใช้งานที่แตกต่างกัน ชนิดของไม้อัดต่างๆมีทั้งหมดดังนี้ ไม้อัดชนิดไม้บาง (Plywood) แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ 1. แบบแผ่นไม้อัด ซึ่งมีลักษณะเป็นไม้แผ่นบางๆมาอัดกาวทาเรียงต่อกันเป็นชั้นๆ 2. แบบแผ่นไม้อัดไส้ระแนง มีลักษณะเป็นแผ่นไม้อัดประกบหน้าหลัง ส่วนตรงกลางเป็นไม้ระแนง ไม้อัดชนิดบางนี้มักจะถูกนำไปใช้ในงานก่อสร้างทั่วไป เพราะมีราคาไม่แพง   ไม้อัดชนิดชิ้นไม้ (Particleboard) เป็นไม้อัดที่จะมองเห็นเนื้อเป็นไม้ชิ้นเล็กๆ แบ่งเป็น 3 ชนิดคือ 1. แผ่นชิ้นไม้อัด มีลักษณะเป็นชิ้นไม้หรือวัสดุที่เหลือใช้จากการเกษตรนำมาย่อย แล้วนำมาทำเป็นแผ่นโดยมีกาวเป็นตัวประสาน 2. แผ่นเกล็ดไม้ คือการนำชิ้นไม้มาอัดรวมกันเป็นแผ่น 3. ไม้อัดไส้พาร์ทิเคิล มีขั้นตอนการทำด้วยการนำชิ้นไม้และวัสดุมาอัดรวมให้เป็นแผ่นเดียวกันโดยใช้กาวเป็นตัวประสาน จากนั้นจึงปิดผิวทั้งสองด้านด้วยไม้บางหรือไม้อัดแผ่น โดยทั้ง 3 แบบนั้นจะต้องผ่านกระบวนการเชื่อมให้ติดกันโดยให้ความร้อนและแรงอัดพร้อมทั้งผ่านกระบวนการทางเคมีไปด้วยกัน เพื่อจุดประสงค์ในการป้องกันความชื้นและปลวก แผ่นไม้อัดชนิดชั้นไม้มักจะนำมาปิดทับด้วยพลาสติกฟอร์ไมก้า และนำไปใช้ผลิตเครื่องเรือน หรือเฟอร์นิเจอร์   ไม้อัดชนิดเส้นใยไม้ (Fiberboard) แบ่งเป็น 2 ชนิดคือ 1. แผ่นใยไม้อัดแข็ง เกิดจากการนำเส้นใยประเภทต่างๆ หรือนำวัสดุที่ให้เส้นใยมารวมกันเป็นแผ่นด้วยกรรมวิธีเปียก จากนั้นจึงนำมาทำการอัดร้อนให้เป็นแผ่นด้วยกรรมวิธีแห้งและมีกาวเป็นตัวประสาน 2. แผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นสูง

Go to Top